Programe
Specification หลักสูตรศิลปบัณฑิต
สาขาวิชาศิลปะภาพยนตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาชื่อหลักสูตร ภาษาไทย :
หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะภาพยนตร์
(หลักสูตรนานาชาติ)
ภาษาอังกฤษ :
Bachelor of Fine Arts in Cinematic
Arts (International
Program)ชื่อวุฒิปริญญา ภาษาไทย :
ศล.บ.
(ศิลปะภาพยนตร์)
ภาษาอังกฤษ
: B.F.A.
(Cinematic Arts)แขนงวิชาที่เปิดสอนในปัจจุบัน -
แขนงวิชาการสร้างภาพยนตร์ (Major in Film
Production) รับจำนวน 80
คน -
แขนงวิชาศิลปะการแสดงประยุกต์
(Major in Applied Performing Arts)
รับจำนวน 80
คน ปรัชญาหลักสูตร หลักสูตรศิลปบัณฑิต
สาขาวิชาการสร้างภาพยนตร์
ที่วิทยาลัยการภาพยนตร์
ศิลปะการแสดงและสื่อใหม่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้ถูกออกแบบมาเพื่อปูทางเตรียมพร้อมให้บัณฑิตกลายเป็นนักสร้างภาพยนตร์มืออาชีพรุ่นใหม่หรือผู้ประกอบการทางด้านการสร้างภาพยนตร์ที่มีทักษะในการสร้างภาพยนตร์ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้และมีความรับผิดชอบทางสังคมต่อประชาคมโลก วัตถุประสงค์ของหลักสูตร หลักสูตรศิลปบัณฑิต
สาขาวิชาการสร้างภาพยนตร์
มีจุดมุ่งหมายในการจัดหาความรู้และทักษะต่างๆที่จำเป็นในการสร้างภาพยนตร์ที่ดีเยี่ยมให้กับบัณฑิต
เมื่อจบการศึกษาจากหลักสูตร
นักศึกษาจะได้รับสิ่งต่างๆ ดังนี้
(1)
ความรู้และทักษะในการสร้างภาพยนตร์และมีคุณธรรมจริยธรรมในการสร้างผลงานสู่ประชาคมโลก
(2)
ความรู้และทักษะต่างๆจากการฝึกงาน
ประสบการณ์จริงซึ่งจะช่วยพัฒนาโครงงานของนักศึกษา
พัฒนาทักษะการสื่อสารสัมพันธ์กับผู้อื่นให้ก้าวหน้า
ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจให้ดีขึ้นและมีจิตวิญญาณของผู้ประกอบการสร้างภาพยนตร์
(3)
คุณภาพและทักษะสำหรับอุตสาหกรรมการสร้างภาพยนตร์จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
จำนวน 129
หน่วยกิต ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
(1) เข้าใจ และวิเคราะห์
หลักการและทฤษฎีด้านการสร้างภาพยนตร์
(2) สามารถวิเคราะห์ปัญหา
เข้าใจ
และอธิบายรวมถึงนำความรู้ด้านภาพยนตร์ไปประยุกต์ใช้ได้
(3)
เข้าใจและสามารถบูรณาการหลักการของศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์
เช่น หลักกฎหมาย หลักการจัดการ
ศิลปะการสร้างภาพยนตร์
เป็นต้น มาตรฐานผลการเรียนรู้ของประสบการณ์ภาคสนาม ความคาดหวังในผลการเรียนรู้ประสบการณ์ภาคสนามของนักศึกษา
มีดังนี้
(1)
เพื่อสร้างโอกาสให้กับนักศึกษาในการประยุกต์ใช้ความรู้และความเข้าใจที่ได้จากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานการณ์จริง
(2)
เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นและเข้าใจมุมมองที่หลากหลายในธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรศิลปบัณฑิต
สาขาวิชาการ สร้างภาพยนตร์
(3)
เพื่อสร้างความแน่ใจในพัฒนาการและการประยุกต์ใช้ทักษะและประสบการณ์ที่ได้มาของนักศึกษา
แต่ละคนให้เกิดประโยชน์
เพื่อวิชาชีพในอนาคตคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาต่อ
(1)เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษา
หรือกำลังศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
(ม.6) หรือเทียบเท่าจาก
สถาบันการศึกษาในประเทศและต่างประเทศ
ที่มีหนังสือรับรองเทียบคุณวุฒิจากกระทรวงศึกษาธิการ
(2) เกรดเฉลี่ย
ไม่น้อยกว่า 2.00
ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
(3)
ต้องเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย
ต้องเป็นผู้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงแผนการศึกษา เป็นหลักสูตร 4
ปี โดยจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาค
ปีการศึกษาละ 2 ภาคเรียน รวม 8 ภาคเรียน
ดังนี้
-
ปีการศึกษาที่ 1/1 เรียนวิชาศึกษาทั่วไป
จำนวน 6 หน่วยกิต และวิชาเอก จำนวน 12
หน่วยกิต
-
ปีการศึกษาที่ 1/2 เรียนวิชาศึกษาทั่วไป
จำนวน 3 หน่วยกิต และวิชาเอก 15
หน่วยกิต
- ปีการศึกษาที่ 2/1
เรียนวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 9 หน่วยกิต
และวิชาเอก จำนวน 9
หน่วยกิต
- ปีการศึกษาที่ 2/2
เรียนวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 9 หน่วยกิต
และวิชาเอก จำนวน 9
หน่วยกิต
- ปีการศึกษาที่ 3/1
เรียนวิชาศึกษาเอก จำนวน 17
หน่วยกิต
-
ปีการศึกษาที่ 3/2 เรียนวิชาศึกษาเอก
จำนวน 18 หน่วยกิต
- ปีการศึกษาที่ 4/1
เรียนวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 3 หน่วยกิต
และวิชาเอก จำนวน 12
หน่วยกิต
- ปีการศึกษาที่ 4/2 ฝึกงาน หรือ
สหกิจศึกษา จำนวน 6 หน่วยกิต
**
รายวิชาในสาขาการสร้างภาพยนตร์ที่เปิดสอน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม **วิธีการเรียนการสอน
(1) ในการเรียนการสอน
ต้องฝึกกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษาโดยเริ่มต้นจากปัญหาที่ง่ายและเพิ่มระดับความยากขึ้นเรื่อยๆ
ทั้งนี้ต้องจัดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับรายวิชา
(2)
จัดการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
โดยใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย เช่น
การอภิปรายกลุ่มการทำกรณีศึกษา
และการจัดทำโครงการ เป็นต้น
(3)
ให้มีการปฏิบัติจริงในสถานประกอบการ
เพื่อเป็นการเรียนวิธีการแก้ปัญหาในสถานการณ์จริงเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ข้อกำหนดในการจบการศึกษาของนักศึกษา
ได้แก่
(1)
การเข้าเรียนอย่างตํ่า 6
ภาคการศึกษาและไม่เกิน 8
ภาคการศึกษา
(2)
บรรลุเป้าหมายข้อกำหนดทางด้านหน่วยกิตในการจบการศึกษาและได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ตํ่ากว่า
2.00
(3)
การเข้าร่วมโครงการคุณธรรมและจริยธรรมของวิทยาลัยการภาพยนตร์
ศิลปะการแสดงและสื่อใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
(4)
การเข้าร่วมหลักสูตรและกิจกรรมเพิ่มคุณค่าของวิทยาลัยการภาพยนตร์
ศิลปะการแสดงและสื่อใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาอย่างตํ่า
80%
(5)
บรรลุเป้าหมายข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี
พ.ศ.2548 และกฎระเบียบข้อบังคับอื่นๆ
ที่ได้รับการระบุโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
(6)
สิ่งสำคัญในการจบการศึกษา
นักศึกษาถูกกำหนดให้แสดงออกถึงความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ
ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขของการจบการศึกษา
นักศึกษาสำเร็จตามข้อกำหนดอย่างตํ่า 1
ข้อก่อนการจบการศึกษา
ไม่สามารถขอสละสิทธิ์ในข้อกำหนดทางด้านความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ
(6.1)
ได้รับคะแนนขั้นตํ่า 500
คะแนนในการทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาประจำชาติ
(TOEFL)
สำหรับนักศึกษาทุกคนที่จะจบการศึกษาจากวิทยาลัยการภาพยนตร์
ศิลปะการแสดงและสื่อใหม่ (SISA)
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
หรือ
(6.2)
การทดสอบภาษาอังกฤษระดับนานาชาติ (IELTS)
เป็นการทดสอบแทน TOEFL
ข้อบังคับคะแนนขั้นตํ่าของการสอบ IELTS
สำหรับการพิจารณารับเข้าศึกษาคือ 5.5
คะแนน หรือ
(6.3)
คะแนนขั้นตํ่าในการสอบภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศ
(TOEIC) คือ
600 อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษา
นักศึกษาสามารถทำงานกับผู้ประกอบการภาพยนตร์หรือประกอบกิจการส่วนตัวทางด้านภาพยนตร์
อาทิ เช่น
-
ผู้กำกับภาพยนตร์
-
นักออกแบบงานสร้างภาพยนตร์
- นักวิจารณ์ภาพยนตร์
- นักแสดง
-
นักออกแบบเครื่องแต่งกายในภาพยนตร์
- ช่างภาพสำหรับภาพยนตร์
-
ช่างออกแบบการแต่งหน้าเพื่องานภาพยนตร์
- นักเขียนบทภาพยนตร์
-
ผู้อำนวยการสร้างโรงละคร
-
ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์
-
ผู้ช่วยควบคุมดำเนินการสร้าง
-
ประกอบกิจการส่วนตัวทางด้านภาพยนตร์บรรยากาศภายในวิทยาลัย อุปกรณ์ในการเรียนการสอน
(สามารถยืมเพื่อใช้ในการเรียนการสอนหรือยืมออกนอกพื้นที่กรณีทำงานกลุ่มใหญ่ส่งอาจารย์ได้)